อาการต้องสงสัยมะเร็งสมองในเด็ก
พญ.หรรษมน โพธิ์ผ่าน
หน่วยโลหิตวิทยาและมะเร็งในเด็ก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์
โรคเนื้องอก/มะเร็งสมองในเด็กเป็นโรคที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสองในกลุ่มโรคเนื้องอก/มะเร็งเด็ก รองจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว พบได้ตั้งแต่อายุน้อยเป็นหลักเดือนจนถึงเด็กโตขึ้นกับชนิดของเนื้องอก/มะเร็ง ซึ่งโรคเนื้องอกในสมองในเด็กนั้น ส่วนใหญ่รักษาให้หายขาดได้ โดยวิธีการรักษาหลักๆ ได้แก่ การผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสง ขึ้นกับชนิดและตำแหน่งที่พบก้อนในสมอง โดยที่ผลการรักษาจะดีหรือไม่ก็จะแตกต่างกันไปตามชนิดและตำแหน่งของก้อนมะเร็งด้วยเช่นกัน
เนื้องอกในสมองเกิดได้อย่างไร
เนื้องอกหรือมะเร็งในสมองนั้น เกิดจากการที่มีการกลายพันธุ์ของเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของสมอง ทำให้มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนผิดปกติอย่างรวดเร็วกลายเป็นก้อนเนื้อที่อยู่ภายในเนื้อสมอง หรืออาจมีการกระจายไปที่บริเวณไขสันหลัง หรือเยื่อหุ้มสมองได้
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีอาการเนื้องอกในสมอง?
สมองของคนเราประกอบไปด้วย สมองส่วนหน้า สมองส่วนหลัง และบริเวณก้านสมอง ทั้งหมดจะถูกบรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ เมื่อมีเนื้องอก/มะเร็งซึ่งเป็นสิ่งแปลกปลอมแทรกในเนื้อสมอง ผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการที่เกิดจากการที่เนื้อสมองถูกกดเบียดหรือจากการที่ความดันในสมองเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นอาการที่เราควรสงสัยเนื้องอก/มะเร็งสมอง ได้แก่
ซึ่งถ้าหากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบพาบุตรหลานไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าเป็นจากเนื้องอกในสมองหรือไม่ โดยการวินิจฉัยเนื้องอกในสมองนั้น จะต้องอาศัยประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางรังสีวิทยาเพื่อดูรอยโรคหรือมองหาก้อนในสมอง ได้แก่ การส่งเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนสมอง (Computed tomography; CT brain)หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนสมอง (Magnetic resonance imaging; MRI brain) ซึ่งหากพบก้อนในสมองก็จำเป็นจะต้องเจาะชิ้นเนื้อหรือผ่าตัดก้อน เพื่อนำมาตรวจทางพยาธิวิทยา (pathology) เพื่อให้ได้วินิจฉัยและชนิดที่แน่นอนของเนื้องอกนั้นก่อนให้การรักษาที่จำเพาะต่อไป